สกลนครภัยแล้งขยายวง ชาวนาเดือดร้อน ข้าวแห้งใกล้ตาย
สกลนครภัยแล้งขยายวง ชาวนาเดือดร้อน ข้าวแห้งใกล้ตาย
ปภ.สกลนคร เผยชาวนาใน อ.เมือง ร้องขอความช่วยเหลือหลังฝนไม่ตก ทำให้ให้ต้นข้าวที่กำลังโตเริ่มแห้งตาย ขณะที่ อุตุฯ ประกาศเข้าฤดูฝนทำให้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้งไม่ได้ คงมีเพียง 4 อำเภอก่อนหน้านี้...
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2558 เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสกลนคร เดินทางออกไปตรวจสอบ นาข้าวจำนวน 7 ไร่ ของ นางฉวีวรรณ ศรีรักษา อายุ 50 ปี ราษฎรบ้านเลขที่ 180 บ้านพาน ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร พบว่าข้าวที่ปลูกและเริ่มงอก ขณะนี้ ต้นข้าวส่วนใหญ่ ได้ล้มตายลงจากสภาพความแห้งแล้ง และต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตไม่งอกงามดังเช่นเมื่อก่อน ซึ่งในปีที่ผ่านมา ในห้วงเวลาเดียวกัน ต้นข้าวที่ปลูกไว้จะเจริญเติบโต และสูงประมาณ 1 ฟุตแล้ว
Continue Reading…
ปภ.สกลนคร เผยชาวนาใน อ.เมือง ร้องขอความช่วยเหลือหลังฝนไม่ตก ทำให้ให้ต้นข้าวที่กำลังโตเริ่มแห้งตาย ขณะที่ อุตุฯ ประกาศเข้าฤดูฝนทำให้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้งไม่ได้ คงมีเพียง 4 อำเภอก่อนหน้านี้...
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2558 เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสกลนคร เดินทางออกไปตรวจสอบ นาข้าวจำนวน 7 ไร่ ของ นางฉวีวรรณ ศรีรักษา อายุ 50 ปี ราษฎรบ้านเลขที่ 180 บ้านพาน ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร พบว่าข้าวที่ปลูกและเริ่มงอก ขณะนี้ ต้นข้าวส่วนใหญ่ ได้ล้มตายลงจากสภาพความแห้งแล้ง และต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตไม่งอกงามดังเช่นเมื่อก่อน ซึ่งในปีที่ผ่านมา ในห้วงเวลาเดียวกัน ต้นข้าวที่ปลูกไว้จะเจริญเติบโต และสูงประมาณ 1 ฟุตแล้ว
ต้นข้าวในนา ที่กำลังเติบโตกำลังจะแห้งตายเพราะฝนทิ้งช่วง |
นางฉวีวรรณ ศรีรักษา กล่าวว่า ตนทำนาบนพื้นที่ 7 ไร่ ที่บ้านประชาสุขสันต์ ต.ขมิ้น ร่วมกับชาวนาคนอื่นๆ อีกกว่า 10 ราย โดยเริ่มไถ หว่าน ปักดำมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนกระทั่งบัดนี้เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว ต้นข้าวที่ปลูก ก็เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างที่เห็น ลงทุนประมาณ 2 หมื่นบาท แต่ขณะนี้ข้าวที่ปลูกไว้กำลังจะยืนต้นเหี่ยวแห้งตายเพราะขาดน้ำ เพราะตั้งแต่ไถหว่านมาจนถึงบัดนี้ ไม่มีฝนตกลงมาเลย เช่นเดียวกับเพื่อบ้านอีกหลายคนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
ด้าน นายประยงค์ ฝ่ายหินร่อง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ สนง.ปภ.จ.สกลนคร ออกไปตรวจสอบสภาพความเดือดร้อนของราษฎร กล่าวว่า ตนรู้สึกเห็นใจชาวนามาก แต่ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว จึงไม่สามารถประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยฉุกเฉินได้ แต่ยังประกาศเป็นเขตฝนทิ้งช่วง นานกว่า 15 วันได้ เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป เบื้องต้นให้รวมตัวกันไปแจ้งต่อ ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้ง ได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) จำนวน 4 อำเภอ คือ อำเภออากาศอำนวย อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส และอำเภอพรรณานิคม มีพื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายเกือบ 2 หมื่นไร่ ขณะนี้ภัยแล้งได้ขยายวงออกไปอีกหลายอำเภอ จากทั้งหมด 18 อำเภอ แต่ปัญหาคือเข้าสู้ฤดูฝนแล้ว จึงไม่สามารถประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้งได้ ซึ่งขณะนี้ต้องรอฝนที่จะตกลงมา และรอดูว่าทางจังหวัดจะให้ความช่วยเหลือชาวนาอย่างไร.
อ่านต่อที่ : ไทยรัฐออนไลน์
อ่านต่อที่ : ไทยรัฐออนไลน์